ประวัติสาขาวิชา

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

 

ข้อมูลเบื้องต้นสาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

 

ชื่อสาขาวิชา

สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
(Department of Civil Engineering) 

 

ที่ตั้ง 
อาคารสาขาวิศวกรรมโยธา
วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ (College of Industrial Technology and Management)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (Rajamangala University of Technology Srivijaya)
เลขที่ 99 หมู่ 4 ตำบลท้องเนียน อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 80210
โทรศัพท์ 075-754024-36 โทรสาร : 075-754028

 

ประวัติความเป็นมา

  • ปี พ.ศ. 2544 ได้เริ่มการก่อตั้งแผนกวิชาช่างก่อสร้าง สังกัดคณะวิชาโยธา สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศรีวิชัย โดยจัดการเรียนการสอนระดับ ปวส. สายตรง ภาคปกติ จัดการเรียนการสอนที่ อาคารช่างก่อสร้าง โดยมีอาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล เป็นหัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง และหัวหน้าคณะวิชาโยธาคนแรก
  • ปี พ.ศ. 2545 เริ่มทำการก่อสร้างสนามบาสเกตบอล ภายในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตศรีวิชัย อยู่บริเวณสนามกีฬา โดยมีนักศึกษาแผนกวิชาช่างก่อสร้าง รุ่นที่ 1 เป็นผู้ก่อสร้าง โดยมีอาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล เป็นผู้ริเริ่มโครงการ
  • ปี พ.ศ. 2546 เริ่มทำการก่อสร้างศาลาพักผ่อนแบบทรงไทย บริเวณทิศตะวันตก ของอาคารช่างก่อสร้าง โดยมีนักศึกษาแผนกวิชาช่างก่อสร้าง รุ่นที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้าง โดยมีอาจารย์ดุสิต ชูพันธ์ เป็นผู้ริเริ่มโครงการ อาจารย์สิทธิชัย ศิริพันธ์ เป็นหัวหน้าแผนกวิชาช่างก่อสร้าง

 

  

 

  • ปี พ.ศ. 2547 เริ่มทำการก่อสร้างอาคารปฏิบัติการงานไม้ อยู่บริเวณทิศใต้ และสนามฟุตซอล อยู่บริเวณทิศเหนือ ของอาคารช่างก่อสร้าง โดยมีนักศึกษาแผนกช่างก่อสร้าง รุ่นที่ 3 และ 4 เป็นผู้สร้าง ตามลำดับ โดยมีอาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล เป็นผู้ริเริ่มทั้ง 2 โครงการ 
  • ปี พ.ศ. 2548 ได้เริ่มเปิดการศึกษาระดับปริญญาตรีอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีโยธา (อส.บ.) หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี (ภาคปกติ) โดยมีอาจารย์สิทธิชัย สิทธิพันธ์ เป็นหัวสาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาคนแรก เริ่มแนวคิดการก่อสร้างป้ายแผนกวิชาช่างก่อสร้าง ซึ่งอยู่บริเวณทิศตะวันออก ของอาคารช่างก่อสร้าง จากความร่วมมือของนักศึกษาแผนกช่างก่อสร้างทุกชั้นปี โดยมีอาจารย์ชูเกียรติ ชูสกุล เป็นผู้ริเริ่มโครงการ
  • ปี พ.ศ. 2549 ได้เริ่มเปิดการศึกษาระดับปริญญาตรี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ) สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี (ภาคปกติและภาคสมทบ) ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2545 โดยมีอาจารย์นภดล ศรภักดี เป็นหัวสาขาวิศวกรรมโยธาคนแรก และหยุดรับ หลักสูตร อส.บ. สาขาวิศวกรรมโยธา และหลักสูตร ปวส. ช่างก่อสร้าง
  • ปี พ.ศ. 2550 ได้สร้างอาคารปฏิบัติการช่างไม้แล้วเสร็จ
  • ปี พ.ศ. 2551 ได้เริ่มเปิดการศึกษาระดับปริญญาตรี ปี วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตร 4 ปี (ภาคปกติและภาคสมทบ) โดยใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2551
  • ปี พ.ศ. 2552 อาจารย์ชยณัฐ บัวทองเกื้อเป็นหัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา
  • ปี พ.ศ. 2553 จากโครงการริเริ่มก่อสร้างป้ายแผนกช่างก่อสร้างเดิม ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยน เป็นป้ายสาขาวิศวกรรมโยธา และทำการก่อสร้างแล้วเสร็จโดยนักศึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา ภาคสมทบ รุ่นที่ 3 (2551) โดยมีอาจารย์ชยณัฐ บัวทองเกื้อ เป็นหัวหน้าสาขา
  • ปี พ.ศ. 2554 โดยมีอาจารย์วัชรงค์ ย่องบุตร เป็นหัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา
  • ปี พ.ศ. 2555 หยุดรับหลักสูตร วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา  หลักสูตรต่อเนื่อง 3 ปี เริ่มใช้หลักสูตรปรับปรุง ปี พ.ศ. 2555 โดยมีอาจารย์ดิษพร มุณีโชค เป็นหัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา
  • ปี พ.ศ. 2556 ในวันที่ 14 มกราคม 2556 ทางคณะอนุกรรมการสภาวิศวกร สาขาวิศวกรรมโยธา ได้มีมติรับรองหลักสูตร วศ.บ. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2551-2555 โดยมีอาจารย์ภาณุ พร้อมพุทธางกูร เป็นหัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา
  • ปี พ.ศ. 2557 โดยมีอาจารย์ชยณัฐ บัวทองเกื้อ เป็นหัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา
  • ปี พ.ศ. 2558 อาจารย์นภดล ศรภักดี ได้รับการแต่งตั้งเป็น หัวหน้าสาขาวิศวกรรมโยธา ปรัชญา ผลิตวิศวกรด้านวิศวกรรมโยธาที่มีความรอบรู้ทางทฤษฎีและมีทักษะทางปฏิบัติ กอปรกับมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ


ปรัชญาของหลักสูตร
ผลิตวิศวกรด้านวิศวกรรมโยธาที่มีความรอบรู้ทางทฤษฎีและมีทักษะทางปฏิบัติ กอปรกับมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ

 

วัตถุประสงค์

  • ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาให้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม วิชาชีพ และปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมเพื่อการประกอบวิชาชีพของตน และศึกษาต่อในระดับสูงได้
  • ผลิตบัณฑิตให้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความใฝ่รู้ในองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาองค์ความรู้ที่ตนมีอยู่ให้สูงขึ้นไป เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางาน พัฒนาสังคมและประเทศชาติ และให้คิดเป็น ทำเป็น สามารถเลือกวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
  • ผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีทักษะในด้านการทำงานเป็นทีม สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และมีทัศนคติที่ดีในการทำงาน
  • ผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารใช้ศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา สาขาวิชาช่างสำรวจ สาขาวิชาช่างเทคนิคสถาปัตยกรรม หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) โปรแกรมวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
  • เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างก่อสร้าง สาขาวิชาช่างโยธา สาขาวิชาช่างสำรวจ โดยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน

การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • โดยวิธีการรับตรงในระบบโควตา
  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกของมหาวิทยาลัย
  • โดยวิธีการสอบคัดเลือกผ่านสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา